อากาศร้อนๆ แบบนี้ เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนขาดแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศไม่ได้เลยอย่างแน่นอน บางคนเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืนกันเลยทีเดียว ถ้าใช้แอร์หนักแบบนี้ก็อย่าลืมดูแลรักษาแอร์ให้ได้ใช้งานกันไปนานๆ นะเพื่อนๆ ใครที่ไม่ได้ล้างแอร์มานานมากเป็นปี หรือมากกว่า 1 ปี ถึงเวลาต้องล้างแอร์กันแล้วนะ เพราะถ้าเพื่อนๆ ไม่ล้างอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคลีเจียนแนร์ หรือไข้ปอนเตียกได้นะ ว่าแต่โรคที่ว่ามีความร้ายแรงแค่ไหน และมีอาการยังไงบ้าง เป็นแล้วต้องรักษายังไง สามย่านมิตรทาวน์ มีคำตอบมาฝาก

ลักษณะของโรค
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Legionellae เป็นเชื้อแบคทีเรียรูปแท่ง ที่ติดสีแกรมลบ โรคนี้สามารถก่อให้เกิดอาการทางคลินิกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ โรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ และโรคลีเจียนแนร์ชนิดไม่มี ปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า ไข้ปอนเตียก
อาการของโรค
มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และมีไข้สูง โดยทั่วไปมักพบอาการใน 2 – 5 วัน ปวดท้อง และอุจจาระร่วงเกิดขึ้นตามมา โรคลีเจียนแนร์เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมและมีอาการไอ ไม่มีเสมหะ ปอดมีการอักเสบเป็นปื้นหรือจุดขาว ถ้าเป็นมากอาจพบลุกลามได้ในปอดทั้งสองข้าง การป่วยค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทำให้การหายใจล้มเหลว ส่วนผู้ป่วยไข้ปอนเตียกจะสามารถหายได้เองและไม่มีอาการปอดอักเสบหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ระยะฟักตัวของโรค
จะปรากฏอาการในช่วง 2-10 วันหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการภายใน 5-6 วัน โรคไข้ปอนเตียกจะปรากฏอาการในช่วง 5-72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง

การวินิจฉัยโรค
อาศัยการแยกเชื้อก่อโรคจากเนื้อเยื่อหรือนํ้ามูก นํ้าลาย โดยใช้อาหารเพาะเชื้อที่เฉพาะต่อเชื้อชนิดนี้ (BCYE∝), การตรวจหาเชื้อLegionella pneumophila serogroup 1 จากปัสสาวะ หรือโดยการตรวจพบ immunofl uorescent antibody titerขึ้นสูงมากหรือมากกว่า 4 เท่า เทียบนํ้าเหลืองเจาะครั้งแรกกับอีกครั้งห่างกัน 3-6 สัปดาห์ วิธีที่ใช้ในการตรวจหาแอนติเจนในปัสสาวะและการตรวจหาแอนติบอดีส่วนใหญ่จะให้ผลต่อ L. pneumophila ดังนั้น โรคที่เกิดจาก species อื่น จะตรวจไม่พบ จึงควรเน้นความสำคัญไปที่การเพาะเชื้อ เกี่ยวข้องหรือสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ
แต่ความไวและความจำเพาะของผลที่ได้ จะมีค่าความแปรปรวนสูงขึ้นกับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยไข้ปอนเตียกมักจะระบุจากอาจใช้วิธีย้อมสี Direct immunofl uorescent antibody stain เนื้อเยื่อที่อาการที่มีความสอดคล้องกับกลุ่มโรคทางระบาดวิทยา การทดสอบแอนติเจนจากปัสสาวะและเซรุ่มสามารถใช้ยืนยันผลการวินิจฉัยได้ แต่ความแม่นยำของการวินิจฉัยจะตํ่ากว่า

การรักษา
ไข้ปอนเตียกจะจำกัดตัวมันเองและไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ สำหรับคำแนะนำในการรักษาโรคลีเจียนแนร์ คือ ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในกลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)เช่น ยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) หรือยาแมคโครไลด์ (Macrolide) ชนิดใหม่ ยาอะซิโทรมัยซิน(Azithromycin) การศึกษาจากการสังเกตชี้ให้เห็นว่ายาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) อาจจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาแมคโครไลด์ (Macrolide) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ยาไรแฟมปิซิน (Rifampicin)ถูกนำมาใช้ร่วมด้วยในผู้ป่วยที่การรักษาล้มเหลว แต่ข้อมูลที่ใกล้เคียงข้อสนับสนุนนี้ยังมีไม่เพียงพอ แต่ยาในกลุ่มยาเพนิซิลินเพนิซิลลิน (Penicillin), ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) และยาอะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) จะใช้รักษาไม่ได้ผล
การแพร่ติดต่อโรค
แพร่กระจายได้ในอากาศ ส่วนทางอื่นก็อาจจะเป็นไปได้ รวมถึงการหายใจนำเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในละอองฝอยของนํ้าเข้าไป การสำลักนํ้าที่มีเชื้อเข้าไปในปอดและการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยผ่านทางบาดแผล ส่วนการแพร่เชื้อจากคนไปสู่คนยังไมมี่ปรากฎ

มาตรการป้องกันโรค
แหล่งนํ้าที่มนุษย์สร้างเป็นแหล่งแพร่โรคปฐมภูมิของโรคลีเจียนแนร์ ดังนั้นจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงสภาวะที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อ Legionella เมื่อไม่ได้ใช้งานหอหล่อเย็น ต้องเปิดนํ้าทิ้งให้แห้ง และทำความสะอาดล้างคราบไคลและตะกอนเติม Biocides ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการก่อตัวของไบโอฟิล์ม ตั้งอุณหภูมิระบบนํ้าร้อนให้สูงกว่าหรือเท่ากับ 50oซ. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อห้ามใช้นํ้าประปาเติมในเครื่องช่วยหายใจ
รู้ถึงที่มาที่ไปของโรคลีเจียนแนร์กันไปแล้วก็อย่าลืมล้างแอร์กันนะเพื่อนๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก็ยังดี แต่ถ้าเพื่อนใช้แอร์เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาด 6 เดือนครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข