ถ้าพูดถึงโรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศหนึ่งในนั้นต้องมีโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนอย่างแน่นอน เพราะด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้กินอาหารไม่ตรงเวลา ประกอบกับหลายคนมีความเครียดเข้าไปรวมอยู่ด้วย เลยทำให้หลายคนเป็นโรคนี้แบบไม่รู้ตัว

อาการของโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนใหญ่อาจะไม่มีอาการปวดท้อง หรืออาจมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเหมือนอาหารไม่ย่อยเท่านั้น เวลากินอาหารก็จะรู้สึกว่าอิ่มเร็วกว่าปกติหรือหิวบ่อยเรอบ่อย บางคนมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนใต้ลิ้นปี่ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจจะจุกใต้ลิ้นปี่ บางคนมีอาการปวดก่อนหรือหลังการกินอาหาร บางคนมีอาการเป็นๆหายๆ มานาน ถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีอาการแบบนี้ อาจเป็นโรคกรดไหลย้อนตามมาภายหลังร่วมกับการเป็นโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากมีกรดเพิ่มในกระเพาะและหูรูดอาหารมีการคลายตัว
อาการของโรคกรดไหลย้อน
โรคนี้มีได้หลายอาการ เช่น แวบหรือแน่นหน้าอก จุดบริเวณลำคอหรือรู้สึกมีเสมหะติดคอ กลืนติด เปี้ยวขมคอ แสบคอ คอแห้ง เจ็บคอบ่อยๆ เสียงแหบ ไอบ่อย เรอเปรี้ยว ขย้อนอาหาร และสำลักอาหารบ่อยๆ ใครที่มีอาการเหล่านี้ ถ้ากินยาต่อเนื่องเกิน 1 เดือนแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรมารับการตรวจด้วยการส่องกล้องกระเพาะอาหารแและหลอดอาหาร

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
ส่วนใหญ่เกิดจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร คนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร คือ คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ท้องอืด ท้องโตเป็นเวลานาน คลำเจอก้อนในท้อง ถ่ายดำหรือปนเลือด ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กลืนติด กลืนลำบาก กลืนเจ็บ และคลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ ในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งบางรายมีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนมานาน แต่ไม่ได้รับการรักษา ที่ถูกต้องจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
1.เลือดออกในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นอุจจาระเป็นเนื้อเหนียวเละๆ สีดำ อาเจียนเป็นเลือด หน้ามืดเป้นลม ความดันโลหิตต่ำ
2.กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะปวดท้องรุนแรงบริเวณลิ้นปี่ ปวดร้าวทะลุไปที่หลังและลุกลามไปทั่วท้องในเวลาต่อมา

3.หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารตีบตัน ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนติด ปวดท้อง ท้องอืด กินอาหารแล้วอิ่มเร็วกว่าปกติ คลื่นไว้อาเจียนหลังกินอาหาร น้ำหนักลด
4.แผลหลอดอาหารหรือมะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุจากการเกิดกรดไหลย้อนต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
5.มะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร หรือเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล (Helicobacter pylori) ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานานจนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
สาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบและการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
1.การติดเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร หรือเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล (Helicobacter pylori) เชื้อนี้เป็นสาเหตุ 60% ของแผลในกระเพาะอาหาร และ 80% ของแผลลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ที่ติดเชื้อมีโอกาสเกิดมะเร็วกระเพาะอาหารมากกว่าคนปกติ 3-6 ท่า
2.ยา เช่น การกินยาแก้ปวดที่เป็นยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียวรอยต์ บาแอสไพริน (Aspirin) ยาสเตียรอยต์ ยารักษากระดูกพรุนกลุ่ม Bisphophonate และโพแทสเซียมชนิดเม็ด
3.ปัจจัยอื่นๆ เช่น ควาเครียด สูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร
การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esopha-gogastroduodenoscopy : EGD หรือ Gastroscopy) เป็นการตรวจมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรค
การเตรียมตัวก่อนส่องกล้อง
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนเป็นการตรวจที่สามารถทำได้โดยง่าย ใช้เวลาไม่นาน โดยทั่วไปการตรวจใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับโรคที่ตรวจพบและความจำเป็นในการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และประเมินความพร้อมก่อนการตรวจ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเลือด รับประทานยาใดๆ อยู่เป็นประจำ หรือแพ้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรงดอาหารและน้ำประมาณ 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ ขณะตรวจแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย จากนั้นให้ยาชาเฉพาะที่โดยการพ่นยาชาภายในลำคอ และผู้ป่วยอาจได้รับยานอนหลับหรือยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายตามความเหมาะสม

กล้องส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscope)
เป็นกล้องวิดีโอขนาดเล็กซึ่งติดอยู่บริเวณปลายท่อยาวที่มีลักษณะอ่อน โค้งงอ และยืดหยุ่นได้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ระหว่างการตรวจแพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าทางปากอย่างช้าๆ ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น หลังจากนั้นแพทย์จะใส่ลมเข้าขยายภายในกระเพาะอาหาร เพื่อให้ดูภาพได้ชัดเจนขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดแน่นท้องเล็กน้อย
หลังการตรวจผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้หลังจากคอหายชาซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ในกรณีที่ได้รับยานอนหลับหรือยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในห้องสังเกตอาการประมาณ 1-2 ชั่วโมง และแนะนำให้มีญาติมารับ ไม่ควรขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิเนื่องจากอาจมีอาการง่วงอีกประมาณ 4-6 ชั่วโมง
ดูจากความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว เพื่อนๆ อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะการกินอาหาร ซึ่งในส่วนของอาหารที่เพื่อนๆ ควรหลีกเลี่ยง ประกอบด้วย

อาหารรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยว ทอด น้ำสลัด มายยองเนส และแกงกระทิ เป็นต้น
ผลไม้ เช่น มะนาว สับปะรด ส้มเปรี้ยว ง่นเปรี้ยว ลูกพรุน กี่วี่ ทัมทิม และเสาวรส เป็นต้น
ขนมที่มีไขมันสูง เช่น เนย ครีม ชีส เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และเบเกอรี่ เป็นต้น
เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้รสเปรี้ยว และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว นมวัว ธัญพืช และนมถั่วเหลือง เป็นต้น
ยา เช่น วิตามินซี น้ำมันตับปลา น้ำมันรำข้าว วิตามินอี ธาตุเหล็ก และแคลเซียม เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติ
1.กินอาหารมื้อละน้อยๆ โดยเฉพาะมื้อเย็น หลังกินอาหารไม่ควรก้ม หรือนอนเอนตัว
2.งดกินอาหาร ผลไม้ ขนม และเครื่องดื่มก่อนนอนอย่าน้อย 4 ชั่วโมง และนอนตะแคงซ้าย
3.ลดน้ำหนักและผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ แบตมินตัน แฮโรบิก และปั่นจักรยาน เป็นต้น นอกจากนี้ ครหลีกเลี่ยงการอกกำลังกายที่มีการกดช่องทาง เช่น โยคะ ซิทอัพ และวิดพื้น

รู้ทำยากแต่อยากให้ทำ เพื่อนๆ คนไหนที่มีอาการอย่างที่เล่าไปข้างต้นค่อยๆ ปรับพฤติกรรมกันไปทีละหน่อยนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน