Tuesday, March 14, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

ทำความรู้จัก 4 โรค ‘คนทำงาน’ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

ช่วงนี้เพื่อนๆ หลายคนน่าจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันบ้างแล้ว หลังจากกลับมางานยุ่งกันมั้ยเอ่ย? ใครที่งานยุ่งถึงกับต้องเอากลับมาทำต่อที่บ้าน เพื่อนๆ ควรหาเวลาพักกันบ้างนะคะ เพราะการทำงานหนักและแทบไม่หยุดพัก อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคของคนทำงานแบบไม่รู้ตัวได้ เพื่อให้เพื่อนๆ รู้จักและป้องกันตัวเอง สามย่านมิตรทาวน์ มีข้อมูลเกี่ยวกับ 4 โรคที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ทำงานมาฝาก

1.โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome – CTS)
คนที่ทำงานที่ใช้มือเป็นหลักในการทำงาน มักจะมีโรคที่เกิดจากการใช้มือสัมผัสในการทำงาน
กลุ่มที่ต้องระวัง : คนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน หรือคนที่ใช้ข้อมือหนัก
การสังเกต : มักมีอาการชา หรือปวดที่บริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ ลามไปถึงหัวไหล่
สาเหตุ : การใช้ข้อมือในท่าทางเดิมเป็นประจำ มีการใช้ข้อมือหนัก ๆ เช่น เวลาพิมพ์คีย์บอร์ด หรือตอนควบคุมเมาส์โดยข้อมือมีการเสียดสีกับพื้นโต๊ะตลอดเวลา
การป้องกันและการรักษา : หากอาการยังไม่รุนแรง เบื้องต้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือ ลองหาอุปกรณ์มารองรับ หรือทำการประคบร้อน กดนวด การยืดเส้นประสาท แต่ถ้ามีอาการหนักขึ้นควรไปพบแพทย์

2.โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome – CVS)
จะเกิดขึ้นได้กับคนทำงานผ่านหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ ที่ต้องใช้ตามองสิ่งเหล่านี้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาตามมา
กลุ่มที่ต้องระวัง : คนที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง
การสังเกต :
ดวงตาล้า ดวงตาแห้ง รู้สึกแสบตา และดวงตาไม่สามารถสู้แสงได้ รวมถึงดวงตาไม่สามารถโฟกัสได้ โดยอาจมีอาการปวดหัว ปวดคอ และบ่ารวมด้วย
สาเหตุ : การใช้คอมพิวเตอร์ที่มีแสงสว่างบนหน้าจอมากเกินไป การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ชิดเป็นเวลานานและไม่พักสายตา รวมถึงมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับระดับสายต
การป้องกันและการรักษา :
ควรพักสายตาบ่อย ๆ และหมั่นกระพริบสายตา ควรปรับความสว่างของแสงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับเหมาะสม และระดับหน้าจอให้เหมาะสมกับระดับสายตา แต่หากมีอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์

3.โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
เพื่อนๆ ที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับคอและหลัง
กลุ่มที่ต้องระวัง : คนที่ต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือคนที่มีพฤติกรรมชอบบิดคอ หมุนคอ
การสังเกต : ปวดบริเวณคอ ไหล่ และบ่า บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมกันจนทำให้อาการหนักขึ้นคือลามไปกดทับเส้นประสาท ทำให้อาการปวดลามไปถึงแขน เริ่มมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และหากไปกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะทำให้รู้สึกปวดหัว ปวดกระบอกตา และรู้สึกบ้านหมุน
สาเหตุ : มีพฤติกรรมการใช้คอและกล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น การบิดคอ การนั่งก้มหน้าทำงานเป็นเวลานานและไม่เคลื่อนไหว
การป้องกันและการรักษา : หากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนพฤติกรรมโดยหมั่นยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ ในกลุ่มคนที่อาการยังไม่รุนแรงสามารถรักษาด้วยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด หรือรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Nucleoplasty)

4.โรคสมาธิสั้นจากการทำงาน (Attention Deficit Trait – ADT)
จะเกิดได้กับการทำงานที่ต้องใช้สมองในการคิดงานอยู่เกือบตลอดเวลา อาจทำเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะจิตใจและสมองตามมา
กลุ่มใดที่ต้องระวัง : มนุษย์ทำงานทุกคน
การสังเกต : ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรบางอย่างได้นาน ความอดทนต่ำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การแบ่งเวลา และจัดลำดับ ความสำคัญต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง รวมถึงมีอาการเครียด
สาเหตุ : สภาพแวดล้อมในการทำงานที่บีบคั้น วุ่นวาย ต้องรับผิดชอบงาน ภาวะกดดัน เครียด และชีวิตที่เร่งรีบ
การป้องกันและการรักษา : พักผ่อน หรือหาวิธีผ่อนคลาย อาจเปลี่ยนอิริยาบถหากรู้สึกว่าทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมถึงพยายามจัดลำดับความสำคัญ แบ่งเวลาให้กับการทำงานอย่างเหมาะสม แต่หากรู้สึกไม่ดีขึ้นก็ควรไปพูดคุยและปรึกษาจิตแพทย์

รู้ถึงสาเหตุของการเกิดโรคแล้ว เพื่อนๆ อย่าลืมสังเกตตัวเองกันนะ ว่าการทำงานในแต่วันเป็นยังไงบ้าง สุขภาพร่างกาย และสุขภาพทางจิตใจยังโอเคกนมั้ย? ถ้าร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าไม่ปกติแล้ว ก็ต้องปรับตารางการทำงานใหม่ให้สมดุล เพื่อสร้างสุขภาพที่แข็งแรง เพราะถ้าปล่อยไว้นานโดยไม่แก้ไข อาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก สามย่านมิตรทาวน์ อยากให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ทำงานกันอย่างสนุก มีความสุข และมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...