Monday, March 27, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

เช็คด่วน! 8 สัญญาณอันตราย เสี่ยงเป็นโรค ‘ไบโพล่าร์’

เพื่อนๆ หลายคนอาจจะทำหน้างง ถ้าได้ยินว่ามี “วันไบโพล่าร์โลก” หรือ WBD (World Bipolar Day) ที่ถูกกำหนดขึ้นในทุกวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี วันนี้มีจริงๆ เป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อชักชวนประชาคมโลก ให้ตระหนักถึงปัญหาโรคไบโพล่าร์ ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงในไทยด้วย และกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ คาดว่าในประเทศไทยมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคไบโพล่าร์หลายแสนคน

โรคไบโพลาร์ เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีการขึ้นและลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (ขั้วบวก = แมเนีย และ ขั้วลบ = ซึมเศร้า) แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคไบโพล่าร์ จะต้องสังเกตอาการยังไง โรคนี้มีอาการแบบไหน ประเภทอารมณ์เดี๋ยวดีเดียวร้าย จะถือเป็นโรคไบโพล่าร์มั๊ยนะ! วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ มี 8 เช็คสัญญาณความเสี่ยงเป็นโรคไบโพล่าร์มาฝาก

1.มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่างๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะมีอาการนี้ เพราะมีหลายคนที่สามารถเรียนรู้วิธีการจัดการตัวเอง และพัฒนาให้เป็นคนขยันในขณะที่กำลังเป็นไบโพล่าร์

2.มีอาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพล่าร์
ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง

3.พูดเร็ว
การพูดเร็วขึ้นเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคไบไพล่าร์ จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้างมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ

4.หงุดหงิดง่าย
ในบางกรณี คนที่เป็นไบโพล่าร์อาจจะมีอาการฟุ้งพล่าน และภาวะซึมเศร้าพร้อมๆ กัน เมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น จะหงุดหงิดง่ายมาก แต่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะถึงจุดที่ความหงุดหงิดเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในเรื่องของความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนรอบข้าง

5.ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สาหตุของการเป็นโรคไบโพล่าร์ ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยคลายอาการซึมเศร้าระหว่างที่อยู่ในช่วง ซึมเศร้า

6.อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)
การเป็นโรคไบโพลาร์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนที่มีอาการซึมเศร้าเท่านั้นนะ คนที่อารมณ์ดีมากเกินไปก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน

7.นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
คนที่เคยมีประสบการณ์ของภาวะฟุ้งพล่าน จะมีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแต่จะไม่เคยรู้สึกเหนื่อยล้า ในทางกลับกัน ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าจะนอนหลับมากขึ้นแต่ยังรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอยู่ดี

8.มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง
เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วง ฟุ้งพล่าน มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก จึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออก โดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาในภายหลัง และอาจมีการแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วยเช่นกัน

สัญญาณทั้ง 8 อย่างที่เล่าไปข้างต้น นอกจากจะส่งสัญญาณถึงโรคไบโพล่าร์แล้ว ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้ด้วย อย่างไรก็ตาม โรคไบโพล่าร์สามารถรักษาได้ หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุข เพราะเป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ การรักษาไบโพล่าร์หลักๆ จึงจำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์ และสิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วย คือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ได้ ใครสงสัยหรือมีคนใกล้ตัวที่ส่ออาการโรคไบโพล่าร์อย่างรอช้า รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), โรงพยาบาลเปาโล, กรมสุขภาจิต

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...