Sunday, May 28, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

เปิดวิธีรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ รู้ไว้จะได้ไม่เป็นเหยื่อ

การถูกคุกคามในโลกไซเบอร์ถือเป็นมหันตภัยทางออนไลน์ที่พบเห็นกันบ่อยครั้ง ผู้เป็นเหยื่อส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจิตจนเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและสุขภาพ ในส่วนของเพื่อนๆ หรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหานี้เกิดขึ้นกันบ้างหรือเปล่า? ถ้าเคยมีเพื่อนๆ แก้ปัญหากันอย่างไร? ส่วนใครที่ยังไม่เคยถูกคุกคามทางออนไลน์ ถ้าหากเปิดปัญหาแบบนี้อันดับแรกอยากให้เพื่อนๆ ตั้งสติก่อน และทำตามขั้นตอนที่ สามย่านมิตรทาวน์ จะนำมาฝาก ก่อนอื่นไปรู้ข้อมูลของปัญหานี้กันก่อนดีกว่า

จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ได้มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ดังนี้

1.ระบบการป้องกันปัญหา สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กก่อนอายุ 13 ปี
2.ระบบการช่วยเหลือและเยียวยาเด็กที่ได้รับผลกระทบ มีมาตรการทางกฎหมาย และแนวทางการทำงานที่จะสามารถช่วยเหลือเหยื่อได้
3.พัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารในสังคม
4.หน่วยงานกลางที่มีความยืดหยุ่นเป็นศูนย์กลางในการดูแลเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวม

อย่างไรก็ดี ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา พัฒนาทักษะการเป็นผู้ใช้และสร้างสรรค์สื่อที่มีความรอบรู้ เท่าทัน ควบคู่ไปกับการร่วมสร้างระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ

นอกจากนี้ จากการศึกษาการรับมือกับสถานการณ์การระรานทางออนไลน์ของเด็กไทย ปี 2563 พบว่า เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษาทุกภูมิภาค 3,240 คน ร้อยละ 21.6 เคยถูกระรานทางออนไลน์ในรอบปีทีผ่านมา โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.2 เด็กถูกระรานทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 18 ถูกระรานหลายครั้งต่อสัปดาห์ และร้อยละ 8.6 ถูกระรานทุกวัน

โดยช่องทางเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง ร้อยละ 53.35 เกมออนไลน์ ร้อยละ 13.12 อินสตาแกรม ร้อยละ 10.13 ทวิตเตอร์ ร้อยละ 9.99 แอปพลิเคชันไลน์ ร้อยละ 8.27 แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ร้อยละ 2.57 ยูทูบ ร้อยละ 1.43 และทางสื่อออนไลน์อื่น ๆ ร้อยละ 1.14 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกระราน ร้อยละ 44.79 รู้สึกวิตกกังวล ร้อยละ 37.38 รู้สึกเจ็บปวดและเศร้า ร้อยละ 23.11 อยากแก้แค้น ร้ายแรงสุด คือ ร้อยละ 17.26 อยากฆ่าตัวตาย

จากผลการศึกษาพฤติกรรมการระรานทางออนไลน์ผู้อื่น ยังพบอีกว่า มีเด็กร้อยละ 14.1 เคยระรานทางออนไลน์ผู้อื่น ซึ่งร้อยละ 76.0 ระรานทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.2 หลายครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 7.0 ระรานทุกวัน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.73 กล่าวว่ารู้สึกผิด ที่น่าตกใจ คือ ร้อยละ 33.55 หรือ 1 ใน 3 รู้สึกสะใจ ร้อยละ 32.03 รู้สึกเท่ และชัดเจนว่าร้อยละ 35.81 ของนักเรียนที่เคยถูกระรานมีพฤติกรรมไประรานผู้อื่น เมื่อถามนักเรียนว่ารับรู้ถึงการที่ผู้อื่นระรานทางออนไลน์หรือไม่ มีถึงร้อยละ 53.7 ตอบว่ารับรู้ และร้อยละ 67.3 หรือ 2 ใน 3 เคยเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกระราน

สำหรับใครที่เคยเจอปัญหาแบบนี้ สสส. แนะนำว่าควรปฏิบัตตัวตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1.จำไว้ว่าไม่ใช่ความผิดของเรา อย่าตำหนิตัวเอง เมื่อถูกผู้อื่นกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
2.อย่าคิดตอบโต้หรือแก้แค้น การตอบโต้จะทำให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
3.เก็บบันทึกหลักฐาน บันทึกหน้าจอ หรือข้อความไว้เป็นหลักฐาน
4.บอกผู้กลั่นแกล้งให้หยุดการกระทำ แสดงเจตนาให้ผู้กลั่นแกล้งทราบว่า เราไม่ยินดีที่จะอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกแกล้ง


5.ขอความช่วยเหลือ ปรึกษาเพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
6.ไม่บอกรหัสผ่านให้กับใคร เพื่อป้องกันการแอบอ้างฃตัวตน ไม่ควรบอกรหัสผ่านแก่ใคร
7.บล็อกผู้กลั่นแกล้ง เพื่อไม่ให้ถูกกระทำซ้ำ ๆ ควรบล็อกบุคคลที่ส่งข้อความกลั่นแกล้ง และรายงานผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์
8.บอกผู้ปกครองหรือครู หากได้รับการข่มขู่คุกคาม ด้วยความรุนแรง ควรแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจัดการ

รู้แนวทางในการจัดภายภัยคุกคามในโลกไซเบอร์แล้ว ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเรา หรือคนใกล้ชิดอย่าลืมทำตามคำแนะนำกันนะคะ เพื่อความปลอดภัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...