Tuesday, March 28, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

เตรียมตัวรับมืออย่างไร? ให้ปลอดภัยจาก ‘พายุฤดูร้อน’

ตอนนี้เมืองไทยกำลังก้าวจะเข้าสู่ฤดูร้อนกันแล้ว เพราะอากาศร้อนเหลือเกิน ออกไปไหนมาไหนก็ต้องหลบแดดกันให้ดี ไม่งั้นหน้าเป็นฝ้าหรือผิวก็ดำได้ ต้องทาครีมกันแดด ไม่ก็พกร่มกางไว้ ซึ่งที่มาพร้อมกับช่วงหน้าร้อน นอกจากความร้อนระอุของอากาศแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความแปรปรวนของอากาศ โดยเฉพาะพายุฤดูร้อน ที่มักจะมาเอาช่วงนี้ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน ตอนนี้กรมอุตุวิทยาก็เริ่มมีประกาศเตือนกันบ้างแล้ว

การมาของพายุฤดูร้อน ไม่ใช่แค่เรื่องความแปรปรวนของอากาศเท่านั้น แต่อาจสร้างความเสียหายให้เกิดแก่ทรัพย์สินของเรา ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านเรือน หรือไม่ก็อาจจะสร้างอันตรายต่อชีวิตของคนหรือสัตว์เลี้ยงต่างๆ ได้เหมือนกัน เราจึงควรป้องกันและเรียนรู้วิธีการรับมือกับภัยจากพายุฤดูร้อนกันไว้บ้าง เพราะการป้องกันไว้ดีกว่ามาเสียใจภายหลัง ส่วนแนวทางการรับมือจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1.สิ่งที่ควรทำก่อนพายุจะมา
เริ่มต้นจากการติดตามข่าวสารเป็นระยะๆ และเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ด้วยการเตรียมอุปกรณ์สิ่งของจำเป็น เช่น ไฟฉาย ไฟสำรอง ยาประจำตัว น้ำดื่ม เป็นต้น ขณะเดียวกัน ยังควรตรวจสอบสภาพของที่พัก ความแข็งแรงของโครงสร้าง โรงรถ สภาพแวดล้อมรอบบ้าน หากอยู่ใกล้กับป้าย หรือสิ่งก่อสร้างที่อาจจะเป็นอันตรายต่อตัวบ้านได้ รวมถึงต้นไม้ใหญ่ที่อาจจะหักโค่นได้

นอกจากนี้ เพื่อนๆ ยังต้องดูแลและตรวจสอบระบบไฟฟ้าของบ้านต้องไม่ชำรุดเสียหาย หรืออาจจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้เมื่อฝนตกหนัก ระบบท่อระบายน้ำ ต้องไม่อุดตันสามารถระบายน้ำออกจากตัวบ้านได้ ตัวบ้านไม่มีรูหรือช่องโหว่ที่จะทำให้น้ำรั่วซึมเข้าสู่ตัวบ้านได้ และสิ่งที่เพื่อนๆ ลืมไม่ได้ คือ การเรียนรู้และวางแผนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติต่างๆ หากเกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร โดยเฉพาะในกรณีมีผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร หรือมีสัตว์เลี้ยงต้องวางแผนช่วยเหลือ หรือดูแลสัตว์เลี้ยงนั้นด้วย

2.สิ่งที่ควรทำในระหว่างเกิดพายุ
สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ควรมี คือ มีสติ อย่าตกใจ อยู่แต่ภายในบ้าน อย่าอยู่ใกล้บริเวณหน้าต่าง หรือบริเวณที่อาจจะมีวัตถุหล่นลงมาใส่ตัวได้ อย่าออกนอกบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่เกิดพายุ หรือฝนตกฟ้าคะนอง หรือฟ้าร้องฟ้าฝ่า กรณีที่อยู่นอกบ้าน ควรรีบเข้าไปอยู่ในบ้านหรืออาคาร หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือแหล่งเกิดไฟฟ้า ต้นไม้ขนาดใหญ่ และสิ่งก่อสร้างที่อาจจะล้มลงมาได้ เช่น ป้ายโฆษณา กรณีไฟฟ้าดับ ต้องอุปกรณ์ทำอาหาร ทั้งเตาไฟฟ้า เตาแก๊ซ ทุกชนิด

หากกำลังขับขี่รถควรจอดรถ และหยุดในบริเวณที่ห่างจากต้นไม้ ถ้าเป็นไปได้ให้วิ่งเข้าไปอยู่ในอาคารที่ปลอดภัย อยู่ห่างจากสะพานลอย เสาไฟฟ้าและสิ่งอันตรายอื่นๆ รวมไปถึงติดตามข่าวสาร เพื่อรับฟังข้อมูล สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจจะมีข้อปฏิบัติ หรือคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.สิ่งที่ควรทำภายหลังพายุสงบ
ตรวจสอบดูว่ามีใครได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ และติดตามสอบถามสมาชิกในครอบครัว หากไม่ได้อยู่ด้วยกัน เพื่อตรวจสอบว่ามีใครได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บหรือไม่ และอย่าลืมตรวจดูสัตว์เลี้ยงของเพื่อนๆ ด้วย ว่ายังอยู่ดีหรือเปล่า รวมไปถึงควจสอบที่พักอาศัย ตรวจสอบสภาพโดยรอบดูความเสียหายว่ามีอะไรบ้าง

นอกจากนี้ ยังควรตรวจสอบไฟฟ้า เตาแก๊ส ตรวจสอบสภาพการใช้งานว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ถ้าได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงวัสดุเสียดสีกัน รีบปิดถังแก๊สและเปิดหน้าต่างแล้วหนีจาก อาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร และในกรณีที่เกิดความเสียหาย หรือมีบุคคลได้รับอันตราย ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือโทรแจ้ง 191 หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่มีผุู้ป่วย คนชรา หรือคนพิการ หากต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ต้องรีบติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

Traffic jam

ทั้งหมดนี้ ก็เป็นคำแนะนำ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ ที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และมีความรุนแรงหรือไม่อย่างไร สิ่งสำคัญ การมีสติ และไม่ประมาท ถ้าเราเตรียมตัวให้ดี และปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เชื่อว่าเพื่อนๆ ก็จะปลอดภัยจากอันตรายที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นได้แน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : Kapok.com, เชียงใหม่นิวส์, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.), ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยภิบัติ

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...