เพื่อนๆ คนไหนมีปัญหาคอเรสเตอรอลสูงบ้าง? เชื่อว่าหลายคนมีปัญหาเรื่องนี้แน่นอน บางคนผอมแต่คอเรสเตอรอลพุ่งสูงปรี๊ด สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอีก ถ้าไม่ดูแลตัวเองดีๆ ไม่เลือกกินก็มีโอกาสพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมา เพื่อให้เพื่อนๆ ตระหนักถึงปัญหานี้กันมาขึ้น สามย่านมิตรทาวน์ มีข้อมูลของเจ้าคอเรสเตอรอลมาฝาก

คอเรสเตอรอล คืออะไร?
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำดี ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมากไต และยังเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์และปลอกประสาท ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเราก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น คอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอดี จึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย และจะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง พอกพูนหนาขึ้นจนโพรงหลอดเหลือดแดงแคบลง เกิดการตีบตันจนเลือดเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญๆ ไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพฤกษ์ อัมพาตจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

คอเรสเตอรอลมีกี่ประเภท?
คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1.LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายเพราะจะเกาะตัวตามผนังของ หลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้ควายืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
2.HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด
1.ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงที่อายุ เกิน 55 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร

ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูงจะมีอาการหรือไม่? เพื่อนๆ ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะไม่มีอาการใดๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินหรืออัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่างๆ ตีบตัน
ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง?
เพื่อนๆ ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารไขมันในปริมาณสูงไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ของภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง และอายุที่มากขึ้น
จะทราบระดับของคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างไร?
เราสามารถตรวจวัดระดับไขมันรวมทั้งคอเลสเตอรอลด้วยวิธีการตรวจเลือดโดยตรวจแยกชนิดของคอเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ผู้ที่จะรับการตรวจควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และควรงดแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ควรน้อยกว่า 200 mg/dl

อาหารที่ช่วยดคอเรสเตอรอล
1.เนื้อปลา
เพื่อนๆ ควรหันมาเน้นกินเนื้อปลาและลดการกินเนื้อสัตว์อื่นๆ ซึ่งวิธีการปรุงควรนำไปอบหรือย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มไขมันโดยเฉพาะการทอด
2.น้ำมันเพื่อสุขภาพ
น้ำมันที่ควรนำมาใช้ คือ น้ำมันมะกอกและน้ำมันเรพซีด ขณะเดียวกันควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวในอาหาร เนื่องจากน้ำมันมะกอกและน้ำมันเรพซีดส่วนใหญ่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการยืนยันว่าการบริโภคน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะต่อวันสามารถลดคอเลสเตอรอลรวมได้ 8% ใน 6 สัปดาห์

3.อาหารไขมันต่ำ
ในแต่ละวันเพื่อนๆ สามารถกินอาหารที่มีคเรสเตอรอลต่อวันไม่ควรเกิน 200 มก. และควรให้ความสำคัญกับการจำกัด ไข่ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารที่มีไขมันสูง
4.นมไขมันต่ำ
เพื่อนๆ ที่ชอบกินนมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ สามารถเลือกผลิตภัณฑ์นมที่มีปริมาณไขมันและครีมต่ำได้
5.เพิ่มอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้
อาหารที่มีไฟเบอร์สูงถือเป็นอาหารที่มีความจำเป็น ซึ่งเพื่อนๆสามารถหาได้จาก ข้าวโอ๊ต และอาหารตระกูลถั่ว เพราะอาหารดังกล่าวอุดมไปด้วยเส้นใยที่ละลายน้ำได้ช่วยให้ร่างกายกำจัดคอเลสเตอรอล แนะนำให้เลือกข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้าจะดีที่สุด

6.กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ผักและผลไม้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยอาหารที่สามารถลดคอเลสเตอรอลได้
เพื่อนๆ คนไหนที่ตอนนี้มีปัญหาเรื่องคอเรสเตอรอลอย่าลืมกินอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : kinrehab และ women.trueid