Monday, March 20, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

คนทำงานต้องรู้! เปิด 12 ข้อควรระวังจากการนอนดึก

ในช่วงนี้เพื่อนๆ หลายคนเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิสกันตามปกติ เห็นได้ชัดเจนจากจำนวนรถที่เพิ่มมากขึ้นและมีรถติดมากขึ้นแล้ว เรียกได้เลยว่า ปัญหารถติดเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน โดยเมื่อเข้ามาทำงาน อาจมีช่วงเวลาที่ต้องทำงานที่ค้างคาให้เสร็จ และอาจทำให้ต้องอยู่ทำงานยาวที่ออฟฟิสมากขึ้นไป เรียกได้ว่ายิ่งอยู่ยาวเวลาในการพักผ่อนก็จะน้อยลง โดยเฉพาะนอนได้น้อยตามไปด้วย

ดังนั้น เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจกับปัญหาเรื่องการดูแลสุขภาพ และเห็นความสำคัญกับการพักผ่อนและนอนมากขึ้น สามย่านมิตรทาวน์ จึงมีข้อควรรู้กับการนอนดึกว่ามีผลกระทบต่อร่างกายมากมาย รวม 12 ข้อ อย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว ไปดูกัน

1.ส่งผลทำให้อารมณ์ไม่ดี และแปรปรวน
มีผลวิจัยชี้ชัดว่า คนที่มีค่าเฉลี่ยการนอนหลับเพียง 4.5 ชั่วโมงต่อคืน เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ มีแนวโน้มจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวน มากกว่าคนที่มีเวลานอนประมาณ 7 ชั่วโมงต่อคืน สำหรับการมีอารมณ์แปรปรวนหมายความรวมถึงอารมณ์ และความรู้สึกเครียด เศร้า โมโห หงุดหงิด ท้อแท้ ซึ่งคนที่นอนน้อย นอนไม่พอ จะควบคุมอารมณ์ได้น้อยกว่าคนที่นอนอย่างเพียงพอ ต้องสังเกตคนใกล้ตัวกันแล้วว่ามาจากนอนน้อยกันไหม

2.สมองไม่รับรู้ เรียนรู้อะไรได้ช้าลง
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถส่งผลให้สมองของทุกคน ทำให้รับรู้และเรียนรู้ช้าลงได้จริง โดยมีผลการสำรวจในโรงเรียนมัธยมปลาย ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการทดลองเลื่อนเวลาเข้าเรียนจาก 7.30 น. เป็น 8.30 น. พบว่า ผลคะแนนของวิชาเลขและวิชาการอ่านของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น 2% และ 1% ตามลำดับ แสดงให้เห็นเลยว่าเมื่อเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำของสมองให้มากขึ้น

3.มีอาการปวดหัวไม่สบายและเป็นไมเกรนได้ง่ายขึ้น
โดยการนอนน้อย นอนไม่พอนั้น จะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคปวดไมเกรน ยิ่งมีโอกาสที่อาการจะกำเริบมากกว่าคนที่ไม่เป็น แต่ก็มีคนส่วนใหญ่ที่นอนน้อย และไม่มีอาการปวดหัวในตอนเช้า และมีอีก 36-58% มีอาการนอนไม่หลับในช่วงตอนกลางคืน พอตื่นเช้าขึ้นมา ก็มีอาการปวดหัวเล็กน้อย

4.ส่งผลทำให้น้ำหนักขึ้นและอ้วนได้
คนที่นอนไม่เพียงพอ มีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ง่ายกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ เนื่องจากการที่ร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ จึงเกิดอาการอยากอาหาร หรือว่าหิวง่ายขึ้น ทำให้สมอเริ่มสั่งการให้มีความรู้สึกอยากกินอาหารแคลอรี่สูง จึงเป็นสาเหตุที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

5.เกิดความรู้สึกช้า เฉื่อยชา
โดยข้อนี้นักวิจัย ได้ทำการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็นกลุ่มที่หนึ่งห้ามนอน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้นอนตามปกติ จากนั้นให้ให้ทำแบบทดสอบ พบว่า กลุ่มอาสาสมัครฝั่งที่ได้นอนพักผ่อน อย่างเพียงพอนั้นมีการตอบโต้ และทำการตัดสินใจได้รวดเร็วมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้นอนหลับพักผ่อน เรียกได้ว่า การนอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองได้ช้าลง และทำให้มีอาการเฉื่อยชาตามมาอีก

6.ทำให้สายตาพร่ามัวหนังตากระตุก
การนอนน้อยทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพแย่ลง การนอนไม่พอมีผลทำให้สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด โดยหากนอนไม่พอติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลาหลายคืน อาจมีอาการเห็นภาพหลอนร่วมด้วย มีคนที่นอนน้อยก็อาจจะเกิดอาการกล้ามเนื้อตากระตุก หรือตาเขม่น มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเป็นภาพซ้อน เบลอ มองไม่ชัด ก็มาจากที่เซลล์กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาที่ไม่ได้รับการซ่อมแซมตัวเองอย่างสมบูรณ์เพราะนอนน้อยนั่นเอง

7.ไม่มีสมาธิในการทำอะไร
โดยผลกระทบต่อเนื่องจากการนอนน้อย ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย สมาธิแย่ลง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทั้งการทำงาน เล่นกีฬา การเรียน หรือแม้กระทั่งการขับรถ เพราะสมองไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ร่างกายอยู่ภาวะมึนงงไม่สามารถตั้งใจจดจ่อกับอะไรได้

8.พูดจาไม่รู้เรื่อง
มีการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่นอนเลยเป็นเวลา 36 ชั่วโมงนั้น พบว่า อาสาสมัครกลุ่มนี้มีแนวโน้มเป็นคนพูดจาไม่รู้เรื่อง พูดติดขัด และพูดได้ช้าลง ที่สำคัญก็คือ ไม่สามารถพูดในสิ่งที่คิดออกมาได้ เพราะสมองประมวลความคิดต่างๆ ช้าลง

9.มีความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุตามมา
ปัญหาส่วนนี้เกิดจากจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย เมื่อเผลอหลับในเพียงระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้แล้ว โดยมีผลอย่างมากกับคนที่ต้องใช้งานขับรถยนต์ และอาชีพที่ต้องขับรถ จึงต้องระมัดระวัง และควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะอาจเกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้

10.ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
การนอนหลับมีผลต่อเรื่องสมรรถภาพทางเพศด้วย โดยการนอนหลับไม่ไม่เพียงพอ จะมีผลต่อกระบวนการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนให้ต่ำลงได้ ทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง ซึ่งภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น จะพบเห็นได้มากในผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ

11.เกิดอาการขี้หลงขี้ลืม
มีผลการวิจัยในปี 1924 พบว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมนอนน้อย เมื่อเทียบกับคนปกติ ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวของโปรตีนแอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta) ในเซลล์ประสาทมีความหนาขึ้นเป็นชั้น ทำให้สมองเสื่อม อีกทั้งส่งผลต่อโครงสร้างของรูปสมองให้เปลี่ยนไป จึงเป็นสาเหตุที่สมองจดจำอะไรไม่ได้นาน ดังนั้นไม่อยากหลงลืมก่อนวัย ก็ต้องนอนให้พอ

12.ส่งผลทำให้อายุสั้นลง
การที่อายุขัยของเราสั้นลงนั้น เป็นปัญหาโดยรวมที่เกิดขึ้นเมื่อเรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จากหลายๆ โรคทั้งหมดโดยเมื่อผลกระทบเหล่านั้นถูกสะสมมาเป็นระยะเวลานาน ร่างกายเราก็อ่อนแอลง ซึ่งทำให้ชีวิตของเราสั้นลงตามมา โดยมีผลวิจัยระบุว่า การนอนในช่วงเวลากลางคืนโดยเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาที่กำลังดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมากในระยะยาว เพื่อนๆ ก็ควรนอนกันให้ได้เท่านี้ในทุกคืน

เพื่อนๆ เห็นแล้วใช่ไหมว่า การอดนอนเป็นเวลายาวนาน หากสะสมต่อเนื่องก็จะมีผลกระทบตามมาอย่างมากมายเลยทีเดียว และสะสมอย่างยาวนาน ก็จะเกิดโรคต่างๆ ตามมา และท้ายสุด อาจทำให้อายุสั้นลงได้ จึงควรแบ่งจัดสรรเวลาและพักผ่อนให้เพียงพอ คืออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่ และจะได้มีพลังในการทำงานวันต่อไปได้อย่างสดชื่น มีพลังเหลือล้น ที่สำคัญ สามารถคิดงานใหม่ อย่างสร้างสรรค์อีกมากมายเลย “อย่าลืมนะว่า งานก็สำคัญ แต่ร่างกายเราก็สำคัญไม่แพ้กัน”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mthai

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...