Tuesday, March 21, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

10 กลโกงซื้อขายออนไลน์ F สินค้าอย่างไร? ให้สบายใจ

ช่วงที่ผ่านมาเราต้องอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ทุกคนต้องอยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บรรดาห้างสรรพสินค้า และร้านต่างๆ ก็ปิดให้บริการด้วย แต่ทุกคนยังต้องกินต้องใช้ ต้องซื้อของมาใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ทำได้ในช่วงนั้น คือ การสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เชื่อว่าช่วงที่ผ่านมาเพื่อนๆ หลายน่าจะป็นนัก F สินค้าแน่ๆ

แต่การซื้อสินค้าในช่องทางออนไลน์ที่ผ่านมา เพื่อนๆ หลายคนน่าจะได้ยินข่าวลูกค้าโดนโกงบ้าง สินค้าได้ไม่ตรงปกบ้าง โอนเงินแล้วร้านค้าปิดหนีบ้าง และอีกสารพัดปัญญา ซึ่งจากข้อมูลของ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 Online Complaint Center หรือ 1212 OCC) ภายใต้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่ามีการรับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 เฉพาะเรื่องซื้อขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 2,221 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีเฉลี่ย 1,718 ครั้งต่อเดือน

ถ้าเพื่อนๆ ไม่อยากตกเป็นเหยื่อพวกมิจฉาชีพ วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ เลยอยากจะเอาคำแนะนำของเอ็ตด้า มาบอกต่อกัน เพื่อไม่ให้เพื่อนๆ โดนหลอกลวงเหมือนกับเหยื่อหลายรายก่อนหน้านี้ ผ่าน 10 กลโกงซื้อขายออนไลน์ที่เราควรรู้ไว้ ดังนี้

กลโกง 1 – “หลอกโอนเงิน” ชวดหนี ไม่มีสินค้าส่งจริง
ปัญหาการสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้ามาเป็นอันดับ 1 ถึง ก่อนตัดสินใจซื้อ แนะนำให้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการตั้งราคาที่ถูกเกินจริง เช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายจากเว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/ ว่าอยู่ในบัญชีดำคนโกงหรือไม่ รวมถึงลองนำชื่อร้านไปค้นหาบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada) ฯลฯ

กลโกง 2 – อ้าวเฮ้ย! “สินค้าไม่ตรงปก” จกตาเกินโฆษณา
ส่วนใหญ่เป็นเพราะหลายคนไม่อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน แต่บางคนก็อ่านครบแต่สินค้าที่ส่งมาไม่ตรงปก ผิดสี ผิดขนาด ไม่ได้อย่างที่ตกลงกัน รวมถึงติดต่อร้านเพื่อแจ้งเปลี่ยนก็ทำไม่ได้ แนะนำว่าให้ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานก่อนจะ F สินค้า เพราะหากไม่ตรงปกจะได้เอาไปร้องเรียนได้

กลโกง 3 – “จ่ายซื้อแบรนด์เนมแท้ แต่ได้ของปลอม” เอาปากกามาวงได้ทุกตรง
ถ้าดูแล้วว่าเป็นสินค้าปลอม ที่แม่ค้าตอนขายออนไลน์บอกว่าเป็นของจริง แนะนำให้พิจารณาข้อมูลร้านค้าอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และตรวจสอบรหัสสินค้า ใบรับประกันสินค้า ตรวจสอบบัญชีธนาคารก่อนโอน แต่ทางที่ดีให้ซื้อกับร้านค้าของแบรนด์โดยตรงหรือร้านค้าทางการ (Official) ดีกว่า

กลโกง 4 – “กลโกงนักรับหิ้วของ” พาเงินปลิว ไม่กลับมา
การรับหิ้วของ หรือการมองหาคนมารับหิ้ว โดยยอมเสียเงินจ้างเพิ่มเล็กน้อยทดแทนการเสียค่ารถออกจากบ้านและความเสี่ยงเข้าไปในย่านชุมชนในยุคโควิด-19 ต้องระวัง ต้องตรวจสอบประวัติผู้รับหิ้วให้ดี เลี่ยงการจ้างวานผู้ที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวมารับหิ้วให้ หรือสั่งจากร้านโดยตรงจะดีกว่า

กลโกง 5 – เมื่อเหล่าคนโกง มาเคาะประตูถึงหน้าบ้าน หลอกให้ “เซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย”
บางครั้งเหล่ามิจฉาชีพก็มากันเป็นทีม ล่าสุดทางไปรษณีย์ไทย ออกจดหมายแจ้งเตือน ระวังมิจฉาชีพตีเนียนเป็นผู้คนส่งของ หลอกให้เซ็นรับพัสดุที่อาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมจัดฉากเป็นตำรวจปลอมเข้าตรวจ เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ แนะให้ตั้งสติก่อน แล้วตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้สั่งของ และห้ามรับสิ่งของ

กลโกง 6 – “ได้รับของชำรุด เสียหาย” ฟื้นใจไม่ให้สลายอย่างไร
แนะนำให้ตรวจสอบกับทางร้านค้าก่อนเป็นอันดับแรก ว่ามีการรับผิดชอบหากสินค้าชำรุดเสียหายหรือไม่ ก่อน F อาจจะให้ร้านค้าช่วยถ่ายรูปส่งมาให้ดู เช็กประวัติการส่งของ ตลอดจนเช็กบริษัทขนส่งว่ามีการรับประกันความเสียหายหรือไม่ เพื่อเสริมความมั่นใจก่อนซื้อ ก่อนเปิดสินค้าถ่ายวิดีโอไว้ก่อนเปิดเป็นหลักฐานจะดีมาก หากเปิดแล้วของเสียหายจริงจะได้เคลมได้

กลโกง 7 – “หลอกซื้อลอตเตอร์ออนไลน์” เสี่ยงดวงรวยแล้ว ยังเสี่ยงเจอคนโกงอีกเหรอ
วิธีการที่ดีที่สุด คงต้องควรตรวจสอบข้อมูลตัวแทนที่เชื่อถือได้จริง แหล่งซื้อขายลอตเตอรีออนไลน์ ตรวจเช็กเลขบนลอตเตอรีให้ถี่ถ้วน ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน แต่เพื่อความสบายใจซื้อตามแพงทั่วไป สบายใจกว่า

กลโกง 8 – “โพรไฟล์หลอกเช่าพระบูชา” กลโกงร่างอวตาร
อีกหนึ่งกรณีที่แนะนำให้ตรวจเช็กชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ และเลขที่บัญชีธนาคารให้ดี เพราะแม้มิจฉาชีพจะเปลี่ยนรูปโพรไฟล์บ่อยครั้ง แต่ก็มักใช้เลขที่บัญชีธนาคารเดิม ระหว่างซื้อขายอาจขอวิดีโอคอลล์กับคนขายเพื่อดูพระให้ได้ เพราะบางรายก็พบว่าไม่มีพระอย่างที่โพสต์ หากเจอผู้ขายที่เกิดอาการบ่ายเบี่ยง บอกว่าตอนนี้พระไม่ได้อยู่กับตนเอง คาดการณ์ได้เลยว่า เราอาจกำลังจะโดนโกง

กลโกง 9 – “ตุ๋นขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์” กว่าจะได้สินค้าก็สายเสียแล้ว #สภาพ
การซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ ก่อนตัดสินใจซื้อขายควรพิจารณาเอกสารสัญญาซื้อขายที่แจ้งรายละเอียดชัดเจน หรือถ้าซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควรเลือกร้านที่เป็นทางการ (Official) ดูรีวิวผู้ซื้อต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบข้อมูลร้านและบัญชีผู้ขายอย่างรอบคอบ

กลโกง 10 – “คนรักต้นไม้ร้องไห้” หลอกขายไม่ตรงรูป
ต้นไม้บางสายพันธุ์ที่หายากก็มีมูลค่าสูงถึงหลักล้านบาท แต่การโกงผ่านการซื้อขายออนไลน์ในวงการนี้ก็มีเช่นกัน แนะนำให้ซื้อขายแบบนัดรับกับทางร้านจะดีกว่า และเลี่ยงการโอนเงินมัดจำก่อน สิ่งที่แนะนำคือควรเลือกร้านขายที่โพสต์รูปต้นไม้พร้อมมีป้ายระบุชื่อต้นไม้ หรือร้านที่เจ้าของร้านถ่ายภาพคู่ต้นไม้ รวมถึงสามารถเสิร์ชค้นหาข้อมูลร้านหรือโพสต์ถามเพจกลุ่มซื้อขายต้นไม้เพื่อย้ำเครดิตของร้านว่าเชื่อถือได้หรือไม่

สิ่งสำคัญของการซื้อสินค้าออนไลน์ คือ เพื่อนๆ คงต้องมีสติเป็นที่ตั้ง และต้องมีความละเอียดรอบครอบ เช็คข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน ที่สำคัญต้องไม่ใช้จ่ายเงินมากเกินรายได้ของตนเอง ซื้อสินค้าใช้แต่พอดีไม่ใช่พอใจนะจ๊ะ

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...