เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุกคนก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน ไปนั่งกินอาหารในร้านก็ลำบาก แถมบางช่วงที่มีล็อกดาวน์ก็นั่งกินไม่ได้อีกด้วย ทำให้ร้านอาหารส่วนมากต้องปรับตัวมาขายในรูปแบบเดลิเวอรี่ ใครที่ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องพักกิจการไว้ชั่วคราว หรือต้องปิดกิจการไปในที่สุดก็มี

วิกฤติโควิด-19 อย่างนี้ จะทำอย่างไร? ให้ธุรกิร้านจอาหารไปต่อได้ วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ มีเคล็ดลับดีๆ จากงานสัมมนา “เปิดสูตรลับ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจอาหารต้องรอด” ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้มาฝาก บอกเลยใครที่ทำตามได้ต้องฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน เพราะงานนี้กูรูชื่อดังด้านธุรกิจอาหารเค้าพร้อมใจกันมาเปิดเคล็ด(ไม่)ลับ อยากรู้แล้วใช่มั้ยล่ะจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
3 เคล็ด (ไม่) ลับ ฉบับเชฟบุญธรรม ภาคโพธิ์ แชมป์เชฟกระทะเหล็ก เจ้าของร้าน Honmono Sushi
1.กระโดดเข้าสู่ตลาดออนไลน์ทันที
ออนไลน์ที่ยังคงมีประสิทธิภาพ และมียอดขาย คงหนีไม่พ้น โซเชียลมีเดีย ที่ถือว่าเป็นช่องทางขายที่ดี แต่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้และสนองตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้

2.สร้างลูกเล่นในการขายด้วยไอเดียใหม่ๆ
พอเข้าไปขายในช่องทางขายออนไลน์แล้ว เราต้องมีการเสนอขายที่น่าสนใจ มีลูกเล่นที่สนุกสนานด้วย เช่น การไลฟ์ขายของ การเปิดประมูลวัตถุดิบ และสอนวิธีการทำอาหาร เป็นต้น
3.ปรับบทบาทหน้าที่พนักงานให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจใหม่
เมื่อโมเดลธุรกิจเข้าสู่ออนไลน์ พนักกงานก็ต้องเรียนรู้และเข้าใจงานใหม่ที่ต้องทำเพิ่มด้วย เช่น ต้องทำหน้าที่แอดมิน การตอบคำถามลูกค้า ที่สำคัญต้องรู้จักธุรกิจร้านอาหารด้วย พวกเมนูอาหาร วัตถุดิบ และลูกค้า จะได้ตอบคำถามได้ถูก

3 เทคนิคสร้างยอดขาย ร้านกะพง Kapong Delivery ของเชฟชลวิทย์ ไตรโลกา
1.มองหาช่องว่างในตลาดและเติมเต็มด้วยสินค้าของเรา
ต้องคอยสำรวจตลาดเพื่อคอยตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เช่น ขายปลากะพงทอดน้ำปลาเหมือนกันแต่มีเพียงเจ้าเดียวที่ขายแบบครึ่งตัว เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าให้สามารถเลือกได้ 2 รสชาติ จาก10 รสชาติในหนึ่งตัว การจัดโปรโมชั่นเป็นเซทอาหารทานแบบครอบครัว เป็นต้น
2.พาตัวเองให้อยู่ใกล้ลูกค้า
การส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่สิ่งสำคัญคือการต้องอยู่ใกล้ลูกค้า เพราะมีค่าจัดส่งตามระยะทาง จึงทำให้ธุรกิจเน้นการลงทุนทำแบบ Cloud Kitchen ซึ่งมีต้นทุนน้อย เพื่อทำให้จุดจัดส่งอาหารของร้านมีระยะทางใกล้กับลูกค้ามากขึ้น

3.สร้างแบรนด์ให้ดังด้วยพลังคำพูด หรือการบอกปากต่อปาก
พลังปากต่อปากจะเกิดขึ้นได้เมื่อร้านอาหารสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าจนนำไปสู่การแชร์ความรู้สึกดี เราจึงต้องคิดอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรให้อาหารยังดูน่ารับประทานเมื่อถึงมือลูกค้าและกระตุ้นให้ลูกค้าถ่ายภาพลงโซเชียลมีเดียบอกต่อประสบการณ์ที่ดีกับคนรู้จักต่อไป
การปรับตัวและลองทำสิ่งใหม่ๆ อาจจะยากและไม่สำเร็จในครั้งแรก แต่การล้มแล้วลุก คือ การเรียนรู้ที่มีคุณค่าให้ธุรกิจร้านอาหารนำไปพัฒนาตัวเอง และส่งผลให้ธุรกิจของเราอยู่รอดในวิกฤตครั้งนี้ พร้อมกับก้าวไปข้างหน้าได้มั่นคงขึ้น สามย่านมิตรทาวน์ ขอเป็นกำลังใจ และเอาใจช่วยให้ทุกธุรกิจรอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้