Monday, March 27, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

‘ฟาร์มเมอร์’ กิจกรรมยามว่างรับหน้าฝน ทำง่ายทานได้แน่นอน

เข้าสู่เดือน “กรกฎาคม” แล้วเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนน่าจะยังต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านกันยาวๆ ไป เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น ซึ่งหากถามถึงกิจกรรมที่ทุกคนทำในยามว่าง เชื่อว่าจะต้องมีความหลากหลายอย่างแน่นอน แต่หากใครยังไม่มีกิจกรรมที่อยากทำพิเศษในช่วงฤดูฝนนี้ สามย่านมิตรทาวน์ อยากชวนเพื่อนๆ มาลองทำอีกกิจกรรมที่น่าสนใจในช่วงฤดูฝนนี้ดู นั่งก็คือ การปลูกต้นไม้ ดอกไม้ และพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะ “การปลูกผัก” ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เหมาะเป็นอย่างมากสำหรับเดือนนี้

สำหรับการเลือกปลูกผักในช่วงหน้าฝนนี้ก็มีหลากหลายชนิดให้เลือกเช่นกัน ซึ่งจากคำแนะนำของ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ระบุว่า ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำมาก จึงควรเลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับช่วงนี้ คือ ผักตระกูลกระหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี และผักเถาเลื้อย เช่น ตำลึง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว แตงร้าน ฟักทอง ฟัก แฟง มะระ และซาโยเต้ ส่วนผักยืนต้น ก็เช่น ชะอม พริก มะเขือ หรืออาจจะเป็นผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น

การเตรียมเตรียมเมล็ดพันธุ์ หากเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบ ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้าอุ่น ประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมากับเมล็ดผัก สำหรับการเตรียมปลูก หากมีพื้นที่มากก็สามารถยกแปลงให้สูงในระดับไม่ต่ากว่า 30 ซม. จึงเหมาะสมสาหรับการปลูกพืชพืชที่มีรากไม่ลึกมาก และอาจจะต้องยกสูงมากกว่า 30 ซม. หากเป็นพืชหัว พร้อมทั้งควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมักให้มากกว่าเดิมเล็กน้อย เพื่อเพิ่มช่องว่างในดิน และใส่ปูนขาวในอัตราเหมาะสมเพื่อลดความเป็นกรดของดิน

ส่วนเพื่อนๆ ที่อยู่ในเมืองอาจมีพื้นที่ไม่มากในการปลูกผัก ทางโครงการสวนผักคนเมือง : ปลูกผัก ปลูกเมือง ปลูกชีวิต มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ก็มีคำแนะนำว่า ผักที่เหมาะสมในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว (ถั่วแขกก็ปลูกได้เช่นกัน) ซึ่งผักเหล่านี้เป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ทนทานต่อเม็ดฝนและปลูกกลางแจ้งได้สำหรับวิธีการปลูกผักแต่ละชนิด เริ่มจาก

ผักบุ้ง
วิธีการปลูกคือ ปลูกโดยนำเมล็ดแช่น้ำไว้ 1 คืน และห่อด้วยผ้าต่ออีก 2 คืน ให้ผ้าชื้นและกระตุ้นการงอก เมื่อรากงอกแล้วให้นำลงไปปลูกในดินหลุมละเมล็ด โดยนำนิ้วลงไปในดินที่เตรียมไว้และปิดปากหลุมรดน้ำ

คะน้า
วิธีการปลูกคือ ใช้วิธีเพาะต้นกล้า แล้วนำมาลงแปลง โดยเว้นระยะระหว่างต้น 20*20 ซม. คะน้าเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และควรรดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน

ถั่วฝักยาว
วิธีการปลูกคือ สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า และต้องทำค้างบนแปลงเพื่อให้เลื้อยขึ้นบนค้าง โดยขึงด้วยลวดหรือเชือกเป็นชั้นๆ ให้ห่างกัน 35 ซม. ส่วนปุ๋ย สามารถนำมูลสัตว์มาหมักรวมกับกระดูกป่น ปลาป่น เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ส่งผลดีต่อออกฝักถั่วด้วย

นอกจากนี้ โครงการสวนผักคนเมือง ยังมีคำแนะนำผักที่มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกในแต่ละเดือนตลอดปี เนื่องจากในแต่ละช่วงฤดู ต้นไม้ และพืชผัก จะมีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามแตกต่างกันไป เพื่อนๆ คนไหนสนใจปลูกผักก็ลองหาผักที่ชอบมาปลูกกันดู เพราะการผันตัวเองมาเป็น “ฟาร์มเมอร์” ก็เป็นอีกกิจกรรมที่สามารถทำได้อย่างสนุก สร้างความผ่อนคลายได้เช่นกัน และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ หากเพื่อนๆ ปลูกผักสำเร็จก็จะได้รับประทานผักที่ปลูกเองแบบปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร และโครงการสวนผักคนเมือง : ปลูกผัก ปลูกเมือง ปลูกชีวิต มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...