Sunday, May 28, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อนๆ อาจจะได้ยินข่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ากันมาบ้างแล้ว ว่าเชื้อไวรัสของสายพันธุ์นี้ค่อนข้างมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และเพื่อให้เพื่อนๆ มีความเข้าใจกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าว รวมไปถึงสายพันธุ์อื่นๆ สามย่านมิตรทาวน์ มีข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลศิครินทร์ มาฝาก

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักเชื่อใหม่ของเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์กันก่อน เพราะจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น และมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ ทำให้องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไวรัสโควิดกลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกตามชื่อประเทศเป็นอักษรกรีก เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่พบครั้งแรก ซึ่งสายพันธุ์ที่ถือว่ามีความน่าวิตกกังวลจะมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ (Varients of Concern) คือ

1.สายพันธุ์อังกฤษ (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.1.7 ชื่อใหม่ อัลฟ่า
2.สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.351 ชื่อใหม่ เบต้า
3.สายพันธุ์บราซิล (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ P.1 ชื่อใหม่ แกมม่า
4.สายพันธุ์อินเดีย (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.617.2 ชื่อใหม่ เดลต้า

นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ยังต้องเฝ้าระวัง(Varients of Interest) อย่างใกล้ชิดอีกจำนวน 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย
1.สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.427 / B.1.429 ชื่อใหม่ เอปซิลอน
2.สายพันธุ์บราซิล (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ P.2 ชื่อใหม่ เซต้า
3.ไม่มีชื่อเรียก (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.525 ชื่อใหม่ อีต้า
4.สายพันธุ์ฟิลิปปินส์ (ชื่อดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ P.3 ชื่อใหม่ ทีต้า
5.สายพันธุ์สหรัฐ (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.526 ชื่อใหม่ ไอโอต้า
6.สายพันธุ์อินเดีย (ชื่อเดิม) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ B.1.617.1 ชื่อใหม่ แคปป้า

ในส่วนของสายพันธุ์ดังกล่าว องค์กรอนามัยโลกระบุว่า ชื่อเรียกใหม่ของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ไม่ใช่การแทนที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการตั้งชื่อเพื่อการสื่อสารที่ง่ายขึ้น เนื่องจากชื่อวิทยาศาสตร์อาจสื่อสารได้ยาก และอาจทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน อีกทั้งยังเป็นการลดการปฏิบัติหรือตีตราประเทศที่พบเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์เป็นครั้งแรกอีกด้วย

สำหรับสายพันธุ์อันตรายในประเทศไทยที่ยังคงต้องเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่อง จะมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ และเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศออกมาว่า ให้เปลี่ยนการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกและความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ดังต่อไปนี้

1.สายพันธุ์แกมม่า P.1
รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลี่ยงภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพวัคซีน
2.สายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7
เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70%
3.สายพันธุ์เดลต้า B.1.617
ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
4.สายพันธุ์เบต้า B.1.351
ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องเฝ้าระวัง! โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) เพราะเป็นเชื้อไวรัวที่อาจมีความรุนแรงกว่าเดิม เนื่องจากมีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย เรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่าเดลต้าพลัส (AY.1) มีการคาดการณ์ว่าเชื้อไวรัสดังกล่าว เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งความแตกต่างระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ Delta Plus VS Delta มีดังต่อไปนี้

สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) มีตำแหน่งกลายพันธุ์ L452R มีคุณสมบัติ แพร่เชื้อง่าย ขณะที่สายพันธุ์เดลต้า พลัส (B.1.617.2.1) หรือ AY.1 มีตำแหน่งกลายพันธุ์ L452R มีคุณสมบัติ แพร่เชื้อง่าย และมี K417 คือ สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี

จากการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว เราจึงไม่ควรประมาท เมื่อออกนอกบ้านก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลสบู่บ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัด ไม่ปลอดโปร่ง เพื่อป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...