Wednesday, May 31, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

“โรคเบาหวาน” รู้ก่อนปลอดภัยกว่า มาตรวจร่างกายกันเถอะ

ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดหนักอยู่ขณะนี้ การดูแลตัวเองตามมาตรการด้านสาธารณสุขคงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อให้ห่างไกลจากการได้รับเชื้อ แม้เราจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วก็ตาม การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ลดความเสี่ยงจากการไปสถานที่เสี่ยงต่างๆ เรายังต้องปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้สูงอายุและบุคคลที่มีโรคประจำตัว 7 โรคร้ายแรง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน

กลุ่มคนดังกล่าวถือเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว และต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ภายใต้มาตรฐานด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพราะหากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปแล้ว จะมีอันตรายต่อชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และเพื่อให้ชาวมิตรที่มีโรคประจำตัวปลอดภัยวันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม 7 โรคร้ายแรง ที่มีคนไทยจำนวนมากเป็นโรคนี้มาเล่าให้ฟัง เพราะทุกคนสามารถเป็นได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ เนื่องจากโรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

โรคเบาหวานหมายถึงโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
1.ในประชากรทั่วไป ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
2.ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน (ดัชนีมวลกาย >25 กก./ตร.ม. หรือ >23 กก./ตร.ม.ในคนไทย) ที่มีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
3.มีประวัติเบาหวานในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง สายตรง
4.มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
5.เป็นความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยารักษาอยู่
6.ผู้ที่มีไขมันผิดปกติ HDL <35 มก/ดล. และ/หรือ Triglyceride >250 มก/ดล. หรือรับประทานยารักษา
7.ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
8.กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome) ในผู้หญิง
9.ผู้ที่มีลักษณะทางคลินิกที่เกิดร่วมกับ “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Insulin resistance) เช่น อ้วนมาก(severeobesity) acanthosis nigricans (รอยปื้นดำ หนา ขรุขระ ที่บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ เป็นต้น)

10.เชื้อชาติที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อัฟริกันอเมริกัน ละติน อินเดียนแดง กลุ่มชนหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นต้น
11.ผู้หญิงที่อ้วน และวางแผนที่จะมีบุตร ควรตรวจเบาหวาน หรือภาวะก่อนเบาหวาน ด้วยบุคคลเหล่านี้
ควรตรวจเบาหวานใน “ทุกอายุ”
12.ผู้ที่อยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน (น้ำตาลสูงกว่าปกติ แต่ไม่ถึงเกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน) >HbA1c = 5.7-6.4%, >ค่าน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงขึ้นไป อยู่ระหว่าง 100-125 มก/ดล. (Impaired fasting glucose หรือ IFG คือน้ำตาลขณะอดอาหารบกพร่อง)
ควรได้รับการตรวจเบาหวาน “ทุกปี”
13.ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus) ควรตรวจเบาหวานตลอดไป อย่างน้อยทุก 3 ปี (กรณีที่ยังไม่เป็น)
14.ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ (HIV) ซึ่งถ้าตรวจแล้วปกติ ควรตรวจอย่างน้อยทุก 3 ปี หรือแล้วแต่ปัจจัยเสี่ยง และผลการตรวจ

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในภาวะก่อนเบาหวาน และเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ชาวมิตรทุกคนควรรู้ไว้ คือ
1.ไม่มีใครทราบ “จุดเริ่มต้น” (onset) ของเบาหวาน จะเป็นเมื่อไหร่
2.ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร หรืออาการน้อยจนไม่ทราบว่า นั่นคืออาการของเบาหวาน
3.ถ้าชะล่าใจ หรือประมาท คิดว่าไม่เป็นอะไร อาจมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังได้
4.ถ้ารู้ตัวว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวาน สามารถป้องกัน หรือชะลอการเป็นเบาหวานในอนาคตได้

ชาวมิตรรู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมไปตรวจสุขภาพและเช็คความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานกันด้วยน๊า เพราะการไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.ธวัชชัย ภาสุรกุล อายุรแพทย์ ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลนวเวช

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...