“สมอง” ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของทุกคนและจำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นอวัยวะที่เราต้องใช้งานทุกวัน แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่า พฤติกรรมบางอย่างของเราที่ทำในชีวิตประจำวันก็ส่งผลร้ายและเป็นการทำรายสมองได้เช่นกัน และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะที่สมองตื้อและคิดอะไรไม่ค่อยออกได้ ดังนั้น วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ เลยขอหยิบข้อมูลดีๆจาก สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข มาเล่าให้ฟัง ส่วนจะมีพฤติกรรมอะไรบ้างมาดูกันเลย

1.การไม่ทานอาหารเช้า เป็นเรื่องที่เราทุกคนต่างได้ยินมาตั้งแต่เด็กที่ต้องให้ทานอาหารเช้า แต่หากไม่ทานอาหารเช้าเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และทำให้เกิดสมองเสื่อมได้ เรียกว่า อาหารเช้าสำคัญสูงสุดในแต่ละวันเลยจริงๆ ไม่ควรข้ามไปอย่างเด็ดขาด
2.การทานอาหารมากเกินไป โดยหากเราเลือกที่จะทานอาหารในจำนวนที่เยอะเกินพอดี อาจเป็นต้นเหตุทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว สร้างผลกระทบต่อเนื่องไปสู่สาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้นได้ และเสริมเลยว่าในระยะยาวอาจเกิดภาวะโรคอ้วนตามมมาได้
3.การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองฝ่อและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีผลการวิจัยจากนักวิจัยในเรื่องนี้ออกมาแล้วเช่นกัน

4.การทานของหวานมากเกินไป ข้อนี้อาจกระทบคนที่ชอบทานหวานได้ ซึ่งเมื่อทานรสชาติที่หวานมากจะเป็นการทำร้ายสมอง เพราะเมื่อทานหวานในปริมาณที่มากๆ ก็จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาสมองของเราด้วย ต้องทานแบบพอดีจะดีที่สุด
5.การอดนอน เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากๆ เพราะคนที่อดนอนเป็นเวลานาน จะมีผลทำให้เซลล์สมองตายได้เลย ดังนั้น เมื่อได้นอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อน ทำให้การตื่นนอนในช่วงเช้าเป็นวันเวลาที่พิเศษอย่างแน่นอน
6.การเกิดมลภาวะ ที่มาจากการสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อยส่ง จึงมีผลต่อประสิทธิภาพของสมองลดลงเรื่อยๆ

7.ขาดการใช้ความคิด ในเรื่องการคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมองเช่นกัน แต่หากเราขาดการใช้ความคิดเป็นเวลานานเป็นต้นเหตุของอาการสมองฝ่อตามมาได้ ข้อเสริมเลยว่า การฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก็จะช่วยเพิ่มทักษะไอคิวของเราอย่างแน่นอน
8.บุคลิกที่เป็นคนไม่ค่อยพูด เรื่องนี้หากใครพูดไม่เก่งนัก ก็ต้องมีการบุคลิกปรับใหม่ เพราะทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง ถ้าไม่ค่อยพูดจากับคนอื่นสมองก็จะไม่ได้แสดงประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น การฝึกทักษะพูดเชื่อว่าทุกคนทำได้แน่นอน
9.นอนคลุมโปง เรื่องใกล้ตัวของทุกคนเช่นกัน และหลายคนชอบนอนคลุมโปง แต่รู้ไหมว่า การนอนคลุมโปงจะเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นและลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองของเรา ต้องปรับการนอนใหม่แล้วนะเพื่อนๆ ที่ชอบคลุมโปง

10.ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย หากเราการทำงานหรือเรียนในช่วงที่กำลังป่วย กระทบต่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว ดังนั้น เมื่อไม่สบายก็ควรพักผ่อนจะดีที่สุด
เป็น 10 ข้อที่ทุกคนปรับและทำได้ โดยเมื่อเราปรับพฤติกรรมใหม่ก็จะส่งผลดีต่ออวัยวะสมองให้แข็งแรงและสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังมีอีก 5 กิจกรรม ที่ควรทำทุกวัน เพราะจะช่วยบริหารสมอง ลดซึมเศร้า และชะลอสมองเสื่อม ได้แก่
1.การออกไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยการไปเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ ทำให้สมองจะวิเคราะห์และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ รวมถึงการฝึกสมองสามารถทำกิจกรรมง่ายๆ เช่น เขียนหนังสือด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด เปลี่ยนเส้นทางใหม่จากบ้านไปที่ทำงาน เยี่ยมชมสถานที่ใหม่ที่ไม่เคยไป ฟังเพลงแนวอื่นๆ บ้าง พบปะผู้คนใหม่ๆ ส่งผลต่อการสร้างความยืดหยุ่นของสมอง ทำให้การทำงานประสานกันระหว่างสมองทั้งสองข้างสมดุล

2.การติดต่อสื่อสารกับสังคมตามความเป็นจริง การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบตัวต่อตัว ฝึกให้สมองคิดและแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น พูดคุยกับผู้รับหรือส่ง E-mail ที่เรากำลังติดต่ออยู่ หรือ โต้ตอบกับผู้คนเป็นการส่วนตัวมากขึ้นหรือพบปะกันมากขึ้น
3.การต่อจิ๊กซอร์ หรือการเล่นเกมต่างๆ ปริศนาคำทาย การถอดรหัส แนวความคิดเชิงนามธรรม การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการหาคำตอบ จะช่วยให้สมองพัฒนา กระตุ้นการเรียนรู้ เพิ่มความจำ ลดภาวะสมองเสื่อม ช่วยวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น
4.ดื่มด่ำกับความอยากรู้อยากเห็น และงานอดิเรกที่ชอบ ข้อนี้คือมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายในโลกใบนี้ หากเราได้พิมพ์สิ่งที่สนใจลงใน google เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ จิตรกรรม ประวัติศาสตร์ เป็นต้น มีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทต่างๆ ให้ทำงานคล่องแคล่วรวดเร็วมากขึ้น

5.นอนหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอ ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีของการพัฒนาสมอง และเมื่อการนอนมีคุณภาพจะทำให้มีสมาธิ มองโลกในแง่ดี ผ่อนคลาย และลดความเครียด รวมถึงภาวะซึมเศร้าได้
เป็นอย่างไรกันบ้าง แค่ปรับพฤติกรรมก็ช่วยเรื่องความจำ ลดความเสี่ยงการเป็นโรคสมองฝ่อและเป็นอัลไซเมอร์ได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมสุขภาพจิต สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข