Wednesday, March 29, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

6 โรคยอดฮิตมักมาในหน้าร้อน รู้ทัน!ปลอดภัยไม่ป่วย

เมืองไทยกำลังจะเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดของปี นอกจากอากาศที่ร้อนระอุ สร้างความร้อนให้กับร่างกายและจิตใจได้ง่ายแล้ว ช่วงฤดูร้อนยังมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคที่เกี่ยวกับภูมิอากาศ วันนี้ สามย่านมิตรทาวน์ มีโรคยอดฮิตที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อนมาฝาก เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องเสี่ยงกับเชื้อโรคเหล่านี้

1.โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (Rabies)
ถือเป็นโรคยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และมักจะพบเชื้อจากสุนัขและแมว โดยเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส ซึ่งติดต่อได้จากทั้งการโดนกัด หรือถูกเลียบริเวณที่มีแผลถลอก หรือแม้แต่น้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก อีกด้วย

โดยผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการอักเสบสมองและเยื่อสมอง ในระยะ 2-3 วันแรก ผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ คันหรือปวดบริเวณรอยที่ถูกกัดทั้งๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อมาจะหงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้ารอบกาย ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อคอกระตุกเกร็งขณะพยายามกลืนอาหารหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการ “กลัวน้ำ” ต่อมาจะเริ่ม เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นอัมพาตโดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด วิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ อย่าให้ถูกสุนัขหรือแมวกัด หรือน้ำลายมาโดนแผลบริเวณร่างกาย หรือเข้าตา จมูดก ปากของคน

2.โรคบิด (Dysentery)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส นิยมเรียกว่าบิดไม่มีตัว หรือเกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดอะมีบยา นิยมเรียกว่าบิดมีตัว ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกัน หากเป็นบิดไม่มีตัว ช่วงที่อาการยังไม่รุนแรงจะไม่สบายท้อง ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด และปวดบิดแต่ไม่มาก ช่วงที่อาการรุนแรง จะปวดท้องบิดอย่างรุนแรงมีไข้สูง อาเจียน ถ่ายมีมูกเลือดและหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าร่างกายอ่อนแอมีโอกาสชักได้

ส่วนบิดมีตัว การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการแต่อาจเป็นแบบบิดเฉียบพลัน มีไข้สูงหนาวสั่นอุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนเลือด หรือมีอาการเล็กน้อย อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนสลับกับอาการท้องผูก เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดก้อนฝีที่ตับ ปอด หรือสมอง วิธีป้องกันง่ายๆ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหารการเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือ หลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

3.โรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea)
สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิที่ปะปนมากับอาหาร และเครื่องดื่ม โดยจะแสดงอาการมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด ต่อมามีอาการคลื่นไส้อาเจียน และถ่ายอุจจาระเหลวตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน วิธีป้องกัน ทำได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับ ประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

4.โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
สาเหตุของโรค เกิดจากการที่เราได้รับสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร หรือผลิตสารพิษในลำไส้เมื่อเราบริโภคเข้าไป โดยจะเกิดอาการตั้งแต่หนึ่งชั่วโมงจนถึง 8 วันหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปมักจะพบว่าในหมู่คนที่กินอาหารร่วมกันจะมีอาการพร้อมกันหลายคน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล และปริมาณที่กิน อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน ตามด้วยอาการมีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วง มีตั้งแต่อาการอย่างอ่อนจนถึงรุนแรง อาจถ่ายมีมูกเลือดปนได้ ดังนั้น วิธีการป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

5.โรคอหิวาตกโรค (Cholera)
โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานเชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษ ออกมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก โดยจะมีถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันร่วมกับมีอาการ และอาการแสดงของการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ไม่ปวดท้อง วิธีการป้องกันทำได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับ ประทานอาหารการเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

6.โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก ( Heatstroke )
โรคฮีทสโตรกเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส สำหรับอาการเบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หน้ามืด ระยะถัดมาอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อได้ บางรายอาจถึงขั้นชักกระตุกและหมดสติ มีไข้สูง ตัวร้อนมาก ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งวิธีป้องกัน คือ พยายามอย่าให้ร่างกายได้รับความร้อนนานๆ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน และป้องกันร่างกายไม่ให้มีอุณหภูมิสูง ด้วยวิธีต่างๆ และอุณหภูมิ การดื่มน้ำบ่อยๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 ,สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย ) ในพระราชูปถัมภ์

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...