Tuesday, May 30, 2023
Advertising call 02-033-8900 ext. 8819spot_img

ฝึกนิสัย สร้างวินัยการเงิน ออมเงินอย่างไรให้ได้เงินล้าน

เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของเพื่อนๆ เลยจริงๆ และเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะละเลยไปกับการวางแผนออมเงิน ที่เป็นเรื่องสำคัญและเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตได้ในระยะยาวได้ วันนี้ “สามย่านมิตรทาวน์” จึงอยากนำเสนอ แนวทางสร้างวินัยในการออมเงินกับ “ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)” ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ ที่เคยให้คำแนะนำแนวทาง 6 นิสัยกับการฝึกวินัยออมเงินไว้ ดังนี้

1.การออมก่อนใช้ โดยเก็บให้ได้ แบ่งออมก่อนใช้ ออมเงิน 1 ใน 4 ของรายได้หรือ 25% โดยควรเก็บเงินออมก้อนนี้แยกจากบัญชีเงินเดือน โดยฝากในบัญชีออมทรัพย์เพื่อให้สามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุจำเป็น
2.ใช้ให้น้อยกว่าที่หากได้ โดยสามารถที่จะจัดทำเป็นบัญชีรายรับ – รายจ่าย เพื่อดูแลและควบคุมค่าใช้จ่ายข้อนี้เห็นด้วยอย่างมาก
3.จ่ายหนี้เต็มจำนวนและตรงเวลา โดยภาระหนี้ต่อเดือน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้หรือ 33%
ข้อนี้หากมาดูที่การการก่อหนี้ ก็มีประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากจะมีทั้งหนี้ดี ที่ช่วยสร้างรายได้ สร้างอนาคต สร้างอาชีพ หรือความมั่นคงระยะยาว เช่น หนี้เพื่อการศึกษา ซื้อบ้าน ซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ ส่วนหนี้ที่พึงระวัง ส่วนใหญ่เป็นของที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยสร้างรายได้ไม่ช่วยสร้างรายได้ให้เรา เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ซื้อของหรือใช้ชีวิตที่เกินฐานะของตัวเอง

4.ทำแผนใช้เงิน แนวทางที่สามารถสร้างวินัยและทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คือ การวางแผนใช้เงิน (Budgeting) สามารถใช้ Mobile Banking ที่เป็นผู้ช่วยวางแผนการใช้เงินได้ ทั้งการแบ่ง เงินออม โอนเงินไปสะสมในบัญชีเงินออมที่แยกจากบัญชีค่าใช้จ่าย , หนี้ โอนชำระหนี้ เช่น บัตรเครดิต ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือตั้งจ่ายอัตโนมัติ , ค่าสาธารณูปโภค ชำระผ่านฟังก์ชันจ่ายบิลหรือตั้งจ่ายอัตโนมัติ , ค่าใช้จ่ายรอบวัน โอนไปยังบัญชีที่เบิกจ่ายสะดวกไม่ปนกับบัญชีเงินออม

5.การเก็บเงินออมเผื่อฉุกเฉิน ประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระหนี้ต่อเดือน
แนวทางการเก็บออมเงินมีหลากหลายทาง ซึ่งสามารถนำเงินออมที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้งอกเงยมีหลายวิธี เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ และ ซื้อกองทุนรวม เป็นต้น

6.ระวังภัยการเงิน เช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วย รายได้ลด ตกงาน ที่สำคัญมากในการเตรียมเงินไว้เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แบบคาดไม่ถึง

ยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกนิดกับ เงินฝากปลอดภาษี ของดีที่ควรมี เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์และไม่เสียภาษี สามารถเปิดได้คนละ 1 บัญชี เหมาะกับคนที่มีรายได้ประจำหรือ ฝากเงินได้อย่างสม่ำเสมอในทุกเดือน ต้องฝากเงินเท่ากันทุกเดือนหรือ อย่างน้อย 24 เดือน กำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำ แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และรวมเงินต้นทั้งหมด ต้องไม่เกิน 600,000 บาท

อีกแนวทาง คือ การสมัคร DCA ลงทุนอย่างมีวินัย (DCA หรือ Dollar Cost Averaging คือ การทยอยลงทุนเป็นประจำ) ด้วยการกำหนดช่วงเวลาและจำนวนเงินลงทุนคงที่แม้ว่าราคาหลักทรัพย์ (หุ้น) ในขณะนั้นจะขึ้นหรือลง

นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก คือ การออมเงินระยะยาวเพื่อเก็บเงิน 1 ล้านบาทแรกในชีวิต ที่ไม่ใช่เรื่องยาก และทุกคนก็สามารถทำได้ แต่อย่างแรกที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจคือ หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณเป็นเรื่องของคนอายุมาก ใกล้เกษียณ แต่ที่จริงแล้ว การเกษียณสุขต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าในระยะยาว เริ่มต้นตั้งแต่การทำงาน ส่วนการวางแผนเมื่อใกล้เกษียณ นอกจากจะลำบากและต้องกดดันตัวเองมากกว่าการเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้ว ยังอาจไม่ทันการณ์

ยกตัวอย่าง ถ้าเราตั้งใจที่จะออมเงินให้ครบ 1 ล้านบาทสำหรับไว้ใช้หลังเกษียณ โดยสมมติอัตราผลตอบแทนจากเงินออมและเงินลงทุนเฉลี่ยเท่ากับ 5% ต่อปี (เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์) โดยเราเริ่มออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาท หรือเดือนละ 1,250 บาท เราก็จะมีเงินครบ 1 ล้านบาทเมื่ออายุ 60 ปี ซึ่งเป็นเงินออม 450,000 บาท และที่เหลืออีกประมาณ 600,000 บาท เป็นการทำงานของดอกเบี้ย แต่ถ้าไปเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปีแล้ว จะต้องออมถึงปีละ 75,000 บาท หรือเดือนละ 6,300 บาท เพื่อให้มีเงินครบ 1 ล้านบาทเมื่อเกษียณ โดยเป็นการทำงานของดอกเบี้ยเพียง 240,000 บาทเท่านั้น

นี่ถือเป็นแผนเบื้องต้นสำหรับเพื่อนๆ มาเตรียมแผนสร้างวินัยทางการเงินกัน โดยยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าศึกษานำไปใช้อีกมหาศาล จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวอย่างแน่นอน ขอย้ำกับเพื่อนทุกคนเลยว่า การวางแผนการเงิน การออมเงิน และการก่อหนี้ เป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกในชีวิต ที่ไม่ควรประมาทเลยจริงๆ ควรท่องคาถาเลยว่า ต้องให้สมองนำทางหัวใจ ชีวิตการเงินจะมีแต่ความสดใส ทีมสมอง คือ ต้องเก็บเงิน คิดก่อนใช้ และกู้เท่าที่จำเป็นนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย

- Advertisment -

“SAMYAN MITRTOWN 3RD ANNIVERSARY มิตรเดย์ มิตรเลิฟ เฟสติวัล ”

ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแคมเปญ “SAMYAN MITRTOWN...